ผมบางกรรมพันธุ์ ผู้หญิงผู้ชายรักษาได้ โรคผมบางจากพันธุกรรม หรือ ภาษาอังกฤษเรียกว่า (androgenetic alopecia) จะเรียกสั้นๆว่า โรคศรีษะล้าน เป็นภาวะที่เกิดจากปัจจัย ทางพันธุกรรมร่วมกับภาวะฮอร์โมนเพศชาย (Androgen) ที่มากกว่าปกติ (1) โดยในเพศ ชายพบปัจจัยทางฮอร์โมนดังกล่าวเป็นสาเหตุที่ชัดเจนมากกว่าในผู้หญิง ในผู้หญิง สาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัดคาด ว่าอาจจะมาจากหลายปัจจัยนอกเหนือจากสาเหตุทางพันธุกรรม (2) ดังนั้น ปัจจุบันนี้ทางสากลจึงนิยมเรียก โรคผมบางจากพันธุกรรมในชื่อใหม่ว่า โรคผมบางที่มีรูปแบบเฉพาะ (Male and Female Pattern Hair Loss) มากกว่าจะใช้ชื่อเดิมคือโรคผมบางจากพันธุกรรมโรคผมบางจากพันธุกรรมหรือโรคผมบางที่มีรูปแบบเฉพาะ เกิดในผู้ป่วยวัยกลางคนเท่านั้นหรือไม่
ภาวะนี้มักเริ่มมีอาการตั้งแต่หลังวัยรุ่น เพศชายมีโอกาสเกิดภาวะนี้ในคนอายุน้อยมากกว่าเพศหญิงที่พบภาวะนี้ในคนสูงวัยกว่า (2) ในชายผิวขาวพบว่าอัตราการเกิดผมบาง 50% ที่อายุ 50 ปี(3) ในหญิงผิวขาวพบมีผมบาง 40% ที่อายุ 70 ปี (4) ในคนเอเชียพบน้อยกว่าในคนผิวขาวหรือคนแอฟริกัน-อเมริกัน ส่วนใน ชายไทยมีการศึกษาพบอัตราการเกิดผมบางประมาณ 38.52% (5)
อาการของโรค ผมบางกรรมพันธุ์ หรือโรคผมบางที่มีรูปแบบเฉพาะเป็นอย่างไร
อาการผมร่วงในผู้ชาย

ส่วนใหญ่จะเริ่มบางตั้งแต่บริเวณไรผม บริเวณหน้าผากขึ้นไป ต่อมาเป็นบริเวณกลางศรีษะจึงเริ่มบางลง เมื่อเวลาผ่านไปผมจะบางเป็นบริเวณกว้างมากขึ้น
อาการผมร่วงในผู้หญิง

มักจะมีการบางของผมบริเวณกลางศรีษะมากกว่าด้านหน้าผาก ส่วนน้อยที่มีการบางของผมด้านหน้าร่วมด้วยคล้ายกับผู้ชาย เมื่อเวลาผ่านไป ผมจะบางเป็นบริเวณกว้างมากขึ้น
การรักษาโรคผมบางกรรมพันธุ์หรือโรคผมบางที่มีรูปแบบเฉพาะ ทำได้อย่างไร
การรักษาผมร่วง ผมบางกรรมพันธุ์ ในชาย
ในผู้ชายสามารถรักษาได้ด้วยการทายาและยารับประทาน ในคนที่เป็นยังไม่มาก ควรเริ่มรักษาด้วยยาทา คือการใช้ Minoxidil lotion 2-5 % เพียงอย่างเดียวก่อน ส่วนในคนที่เป็นมาก เช่น คนที่มีผมบางมากจนเห็นหนังศรีษะเป็นบริเวณกว้าง อาจให้การรักษาด้วยการทายา Minoxidil lotion 2-5% ร่วมกับการทานยา Finasteride 1 มิลลิกรัมต่อวัน (6-7)
การรักษาผมร่วง ผมบางกรรมพันธุ์ ในหญิง
ในผู้หญิง ควรรักษาด้วยยาทา 2-5% Minoxidil lotion เพียงอย่างเดียว (6) ส่วนการรักษาด้วยยารับประทานสําหรับผู้หญิงยังไม่อยู่ในแนวทางการรักษาที่เป็นมาตรฐาน (Clinical practice guideline)เนื่องจากยาFinasteride 1mg/day พบว่าใช้ไม่ได้ผลในผู้หญิง ยาต้านฮอร์โมนแอนโดรเจนอื่นๆ ยังจําเป็นต้องรอผลการศึกษามากขึ้นทางด้านประสิทธิผลและความปลอดภัย นอกจากนั้นผู้ป่วยหญิงที่ต้องการ
รับประทานยาจําเป็นต้องป้องกันการตั้งครรภ์เนื่องจากยาก่อให้เกิดความผิดปกติกับทารกในครรภ์ได้และ ผู้ป่วยควรอยู่ในความดูแลของแพทย์เพื่อเฝ้าระวังผลข้างเคียงทางร่างกายด้านอื่นๆ
การรักษาด้วยวิธีอื่นๆ
การรักษาทางศัลยกรรมด้วยการย้ายปลูกถ่ายรากผม (Hair transplantation) เหมาะสมกับผู้ป่วยที่มีผมบางมากและอาจทําได้ในผู้ป่วยบางราย, การใช้เลเซอรเพื่อกระตุ้นให้มีผมมากขึ้น ยังไม่มีการศึกษามากพอยืนยันว่าได้ผลจริง, การใช้ผมปลอมหรือวิก เป็นอีกทางเลือก หนึ่งของการรักษา
ผลข้างเคียงของยาทา Minoxidil มีอะไรบ้าง
ยาทา Minoxidil อาจทําให้มีอาการระคายเคืองหนังศีรษะ (7%), มีขนขึ้นที่ใบหน้า (5%) และปวดศีรษะ (3%) (8) ยาสามารถก่ออันตรายให้กับทารกในครรภ์ได้จึงไม่ควรใช้ยานี้ในหญิงงมีครรภ์และให้นมบุตร(6)
ผลข้างเคียงของยารับประทาน Finasteride มีอะไรบ้าง
ยารับประทาน Finasteride ในเพศชาย ยานี้อาจมีผลทําให้การแข็งตัวของอวัยวะเพศลดลง (1-2%)(7, 9) ในผู้หญิง นอกจากยาอาจใช้ไม่ได้ผลแล้ว ยานี้สามารถก่ออันตรายแก่ทารกในครรภ์ได้จึงไม่ควรใช้ยานี้ในหญิงมีครรภ์และให้นมบุตร (6) มีความจําเป็นต้องปรับลดขนาดยาลงในผู้ป่วยโรคตับ (10)
ควรใช้ยาทา Minoxidil และ/หรือยารับประทาน Finasteride(ในผู้ชาย)ไปนานเทาใด
การรักษาโรคผมบางที่มีรูปแบบเฉพาะนี้มีความจําเป็นต้องทําไปตลอด เนื่องจากถ้าหยุดยา ผมอาจกลับไปบางเท่าเดิม การที่ต้องรักษาเป็นเวลานานทําให้ผู้ป่วยหลายรายมีความท้อใจในการรักษา อย่างไรก็ตามหากผู้ป่วยไม่รักษา ผู้ป่วยอาจมีผมที่บางมากขึ้น (9) มีการศึกษาหนึ่งพบว่า มีโอกาสมากถึง 93% ที่ผู้ป่วยจะมีผมบางเพิ่มขึ้นในช่วงระยะเวลา 5 ปีและพบว่าผมบางมากขึ้นโดยเฉลี่ย 26% (11) ดังนั้น โรคผมบางชนิดนี้จึงควรมีการรักษาอย่างต่อเนื่องอนึ่ง ควรประเมินผลการรักษาที่ระยะเวลา 1 ปีซึ่งเป็นระยะเวลาที่ยาออกฤทธิ์มากที่สุด (9)
โดยสรุปการรักษา ผมบางกรรมพันธุ์
โรคผมบางจากพันธุกรรมหรอผมบางที่มีรูปแบบเฉพาะนี้มีลักษณะอาการแตกต่างจากโรคอื่น การรักษาควรถูกต้องตามมาตรฐาน เพื่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดและมีความปลอดภัยต่อผู้ป่วย
เอกสารอ้างอิง
1. Hamilton JB. Male hormone stimulation is a prerequisite and an incitant in common baldness. Am J Anat. 1942;71:451‐80.
2. Olsen EA. Female pattern hair loss. J Am Acad Dermatol. 2001 Sep;45(3 Suppl):S70‐80.
3. Hamilton JB. Patterned loss of hair in man: types and incidence. Annal NY Acad Sci 1951;53:708‐28.
4. Birch MP, Messenger JF, Messenger AG. Hair density, hair diameter and the prevalence of female pattern hair loss. Br J Dermatol. 2001 Feb;144(2):297‐304.
5. Pathomvanich D, Pongratananukul S, Thienthaworn P, Manoshai S. A random study of Asian male androgenetic alopecia in Bangkok, Thailand. Dermatol Surg. 2002 Sep;28(9):804‐7.
6. Rogers NE, Avram MR. Medical treatments for male and female pattern hair loss. J Am Acad Dermatol. 2008 Oct;59(4):547‐66; quiz 67‐8.
7. Mella JM, Perret MC, Manzotti M, Catalano HN, Guyatt G. Efficacy and safety of finasteride therapy for androgenetic alopecia: a systematic review. Arch Dermatol. 2010 Oct;146(10):1141‐50.
8. Olsen EA, Dunlap FE, Funicella T, Koperski JA, Swinehart JM, Tschen EH, et al. A randomized clinical trial of 5% topical minoxidil versus 2% topical minoxidil and placebo in the treatment of androgenetic alopecia in men. J Am Acad Dermatol. 2002 Sep;47(3):377‐85.
9. Group TFMPHLS. Long‐term (5‐year) multinational experience with finasteride 1 mg in the treatment of men with androgenetic alopecia. Eur J Dermatol. 2002 Jan‐Feb;12(1):38‐49.
10. Price VH. Treatment of hair loss. N Engl J Med. 1999 Sep 23;341(13):964‐73.
11. Kaufman KD, Girman CJ, Round EM, Johnson‐Levonas AO, Shah AK, Rotonda J. Progression of hair loss in men with androgenetic alopecia (male pattern hair loss): long‐term (5‐year) controlled observational data in placebo‐treated patients. Eur J Dermatol. 2008 Jul‐Aug;18(4):407‐11.
เครดิต รูปภาพและข้อความ เอกสาร pdf พญ.ชินมนัส ตั้งจาตุรนต์รัศมี, นพ.จิโรจ สินธวานนท์
บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้