ฮอร์โมน แอนโดเจน หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า Androgens คือ ฮอร์โมนเพศที่สร้างขึ้นมาจากต่อมหมวกไตส่วนชั้นในสุด สร้างฮอร์โมนเพศชาย (แต่น้อยกว่าที่ผลิตจากอัณฑะ) มีปริมาณทั้งหมดประมาณ 15 % ของฮอร์โมนเพศชายทั้งหมด โดยจะถูกเปลี่ยนเป็นเทสโทสเทอโรนที่เป็นรูปที่ออกฤทธิ์
ดังนั้น ในวัยผู้ใหญ่ เมื่อหลั่งฮอร์โมนนี้ออกมามากจะไม่พบความผิดปกติ แต่ในวัยเด็ก ถ้าเป็นผู้ชาย จะทำให้เป็นหนุ่มเร็วกว่ากำหนด (precocious puberty) ส่วนในเพศหญิง เนื่องจากต่อมหมวกไต ส่วนนอกนี้ผลิตแอนโดรเจน (androgen) ถ้ามีการผลิตฮอร์โมนนี้มากซึ่งอาจเกิดจากมีเนื้องอก จะทำให้เกิดลักษณะของเพศชายได้ คือมีพฤติกรรมคล้ายผู้ชาย มีการสร้างโปรตีนที่ทำให้แขนขาใหญ่ มีหนวดเครา เสียงห้าว ไม่มีประจำเดือน มีขนขึ้นตามตัวและใบหน้า
Table of Contents
ฮอร์โมน Androgens เกี่ยวกับ ผมร่วงผมบางอย่างไร?
สำหรับฮอร์โมน Androgens นั้นจะมีผลต่อการเจริญของต่อมรากผมในทั้งเพศชายและหญิง โดย weak proandrogens เช่น dehydroepiandrosterone (DHEA) และ dehydroepiandrosterone sulfate (DHEA-S) จะจับตัวกับ Androgen Receptor หรือตัวรับ Androgen ในเซลล์เพื่อเปลี่ยนแปลงเป็น potent androgen เช่น dihydrotestosterone (DHT) ด้วยเอ็นไซม์ 5-α reductase ที่เกิดขึ้นเกิดขึ้นจากต่อมไขมัน (sebocytes) และ เซลล์ที่ต่อมเหงื่อ (sweat gland) เป็นต้น ตรงนี้อาจจะเข้าใจยากหน่อย แต่เป็นกลไกทางเคมีในตัวเราที่เกิดขึ้นจริง
DHT สาเหตุที่ทำให้ผมร่วง
เอนไซม์ 5 อัลฟา รีดัคเทส อันเป็นตัวสำคัญที่เปลี่ยนฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเทอโรน ไปเป็น ไดไฮโดรเทสโทสเทอโรน (DHT) ที่บริเวณหนังศีรษะ ซึ่งผลผลิตสุดท้าย คือ DHT ตัวนี้จะทำลายรากผมและเป็นตัวที่ทำให้เกิดผมร่วง เส้นผมเล็กลง บางลง

บทความที่เกี่ยวข้อง
ผมบางกรรมพันธุ์ ผู้หญิงผู้ชายรักษาได้
เอกสารอ้างอิง
บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้