เครื่องดามนิ้ว
Uncategorized

เครื่องช่วยดามนิ้ว ช่วยการดามนิ้ว รักษาการบวดเจ็บที่นิ้ว

เครื่องช่วยดามนิ้ว กระดูกนิ้วหักที่ไม่เลื่อนหรือเลื่อนเล็กน้อย รวมถึงการอักเสบเส้นเอ็นของนิ้วเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในเวชปฏิบัติ การรักษาเป็นวิธีการรักษาเป็นอนุรักษ์นิยม (Conservative treatment) โดยทั่วไปนอกจากยาแก้ปวดแล้ว การใส่ finger splints ถือมีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากช่วยลดปวด และทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้งานได้ตามปกติเร็วขึ้น

นักศึกษาต้องรู้จักความหมายกว้างๆ ก่อน Orthosis หมายถึงอุปกรณ์พยุงที่ใช้ดามร่างกายภายนอก โดยทั่วไปมักคำว่า Brace เช่น knee brace คือ อุปกรณ์พยุงเข่า สำหรับ splint หมายถึงอุปกรณ์พยุงชนิดชั่วคราว (Temporary orthosis) สำหรับการเรียกชื่ออุปกรณ์พยุงแขนและมือสามารถเรียกชื่อได้หลายแบบ ได้แก่ 1. ภาวะที่ต้องใช้อุปกรณ์พยุงชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น tennis elbow splint, carpal tunnel syndrome splint, de Quervain’s disease splint หรือ finger splint เพื่อให้เข้าใจง่าย สามารถใช้สื่อสารกับผู้อื่นและเข้าใจได้ทันที

โดยในบทเรียนนี้จะกล่าวนี้ finger splint เท่านั้นที่ใช้บ่อยในโรงพยาบาล สามารถทำได้ง่ายและใช้อุปกรณ์ไม่มาก ได้แก่ External Splinting-finger และ buddy splint

การดามนิ้วด้วยนิ้วข้างเคียงหรือ buddy splint นั้นเป็นหัตถการเบื้องต้นในการรักษาการบาดเจ็บที่นิ้วมือ พบได้บ่อยในการปฏิบัติงานเวชศาสตร์ทั่วไป ขั้นตอนการปฏิบัติไม่ยุ่งยากแต่มีรายละเอียดที่แพทย์ผู้ทำหัตถการ ควรปฏิบัติให้ถูกต้องเพื่อประสิทธิภาพในการรักษาและหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

ข้อบ่งชี้และข้อห้าม

ข้อบ่งชี้

1. stable extraarticular middle phalanx fracture

2. Immobilization after reduction of simple IP joint dislocation

ข้อห้าม

มีบาดแผลบริเวณนิ้วที่จะดามที่ต้องการการถอด buddy splint เพื่อดูแลเป็นประจำ (เนื่องจากกระดูที่หักอาจเคลื่อน และเนื้อเยื่อที่เป็นแผลอาจถูกกดทับ)

อุปกรณ์

1. ผ้าก๊อซขนาด 3 x 3 นิ้ว 1 ชิ้นหรือสำลีม้วน (webril) ขนาดเทียบเท่า

2. เทปกาวสำหรับพันแผล (transpore หรือ micropore) ขนาดกว้าง 1/2 นิ้ว

ขั้นตอนและวิธีปฏิบัติ

1. แนะนำตัวเอง และสอบถามชื่อสกุลผู้ป่วยด้วยความสุภาพ

2. แจ้งให้ผู้ป่วยทราบถึงการวินิจฉัยและแนวทางการรักษา

3. ปฏิบัติกับผู้ป่วยด้วยความสุภาพนุ่มนวล และบอกผู้ป่วยถึงสิ่งที่กำลังปฏิบัติอยู่เป็นระยะ

4. เลือกนิ้วข้างเคียงที่มีความยาวใกล้เคียงหรือยาวมากกว่านิ้วที่ได้รับบาดเจ็บมาดามนิ้วที่ได้รับ บาดเจ็บ

5. พับผ้าก๊อซหรือสำลีรองเฝือก ให้มีความกว้างเท่ากับความหนาของนิ้ว และยาวพอดีกับปลายนิ้ว

6. นำผ้าก๊อซหรือสำลีรองเฝือก ที่พับมาขั้นกลางระหว่างนิ้วที่ต้องการดาม

7. ตัดเทปกาวสำหรับพันแผล (transpore หรือ micropore) ขนาดกว้าง 1/2 นิ้ว ความยาวพอดีกับที่จะนำมาพันรอบทั้งสองนิ้วเข้าด้วยกัน ทั้งหมด 3 แถบ (ไม่ควรพันเทปกาวทั้งม้วนเทปการเนื่องจากจะทำให้พันแน่นเกินไป

8. พันเทปกาวสำหรับพันแผลที่เตรียมไว้พันนิ้วทั้งสองเข้า ด้วยกัน โดยหลีกเลี่ยงการพันทับข้อต่อ PIP และ DIP ให้พันที่ proximal phalanx, middle phalanx และ distal phalanx

9. หลังจากพันเสร็จแล้วทดสอบการงอเหยียด ซึ่งยังต้อง สามารถงอเหยียดได้

10.ตรวจการไหลเวียนของเลือดปลายนิ้วต้องไม่ซีดและ เลือดคั่ง (congestion)

ภาวะแทรกซ้อนและการแก้ไข

• หากตรวจพบว่าพันแน่นเกินไป ทำให้มีการไหลเวียนเลือดไม่ดี ให้คลายเทปกาวออกแล้วจึงพันใหม่

• หากมีกระดูกเคลื่อนมากขึ้นอาจแสดงว่ากระดูกที่หัก นั้นไม่มั่นคง การดามด้วย buddy splint อาจไม่เพียงพอ ควรส่งต่อศัลยแพทย์กระดูกและข้อเพื่อพิจารณาผ่าตัดรักษา

แนะนำการดูแลที่บ้าน

• ดูแลไม่ให้เปียกอับชื้นและห้ามโดนน้ำ

• หากหลุดหลวมหรือแน่นเกินไปให้มาพบแพทย์เพื่อเปลี่ยน

• ใช้งานมือเท่าที่สามารถทำได้ภายในการดามนิ้ว

• ใส่นานประมาณ 3-4 สัปดาห์ โดยแพทย์จะนัดมาตรวจเพื่อถอด อีกครั้ง ห้ามถอดก่อนกำหนด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยและจุดประสงค์ของการใส่ ระยะเวลาอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้

 

เครดิตข้อมูลจาก https://meded.psu.ac.th