วิธีรักษาห้อเลือดใต้เล็บ เลือดออกใต้เล็บ จากประตูหนีบ ของหล่นใส่นิ้ว เล็บดำเพราะสาเหตุเลือดออกใต้เล็บ ใครเห็นเป็นใครก็เขิน หลายท่านอาจจะใช้วิธีทาสีเล็บปิดไปเลย หลายท่านน่าจะเคยผ่านประสบการที่เราไม่คาดฝันอย่าง ประตูหนีบ หรือ ตอกตะปูไปโดนมือตัวเอง หรืออาจจะไปเตะโดนโต๊ะ หรืออาจจะเป็น โต๊ะนักเรียนล้มทับ ทำให้เกิดเลือดไปคั่งค้างในเล็บของเรา เลือดที่คั่งข้างอยู่ก็จะไปอยู่ใต้เล็บ ในอุบัติเหตุที่ไม่รุนแรงมากก็คงไม่เจ็บปวดใดๆ แต่หากมีความรุนแรงมากก็อาจจะทำให้มีอาการปวดตามมาได้ วันนี้จึงนำ วิธีรักษาห้อเลือดใต้เล็บ เลือดออกใต้เล็บ จากประตูหนีบ ของหล่นใส่นิ้ว มาฝากกันครับ ห้อเลือดหรือเลือดออกใต้เล็บเป็นอย่างไร ? สำหรับ ห้อเลือด หรือเลือดออกใต้เล็บนั้น จะมีสีบงบอก ระยะเวลาของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นได้ ในช่วงแรกนั้นจะมีสีแดงหรือม่วงเพราะเลือดนั้นยังคงสดอยู่ เมื่อเวลาผ่านไปเลือดที่คั่งอยู่ใต้เล็บของเรานั้นก็จะกลายเป็นสีดำ หากมีอาการปวดร่วมด้วย หรือมีเลือดคั่งค้างอยู่มากอาจจะมีโอกาสได้ว่ามีการแตกหักขึ้น ถ้าหากดูจากลักษณะอาการแล้วคิดว่าหนักก็ควรจะพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษาต่อไปอย่าทิ้งไว้แบบนี้ ประตูหนีบ หรือ ของหล่นใส่นิ้ว จะทำอย่างไร ? หากเกิดอุบัติเหตุเกิดขึ้นในเบื้องต้นควรปฐมพยาบาล ด้วยการประคบเย็น เพราะการประคบเย็นจะช่วยห้ามเลือด ลดอาการอักเสบ ปวด บวม การประคบเย็นเป็นวิธีที่สามารถทำได้ง่ายเพราะสะดวกและรวดเร็ว จะประเย็นด้วยน้ำแข็งหรือถุงเย็น ผ้าเย็นก็ได้ ถ้าหากเราสังเกตุดูว่าเล็บของเรานั้นมีเลือดคั่งอยู่มากจนเกิน 25 เปอร์เซ็นของเล็บแล้วแนะนำให้พบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษาเพราะอาจจะมีโอกาสที่เล็บของเรานั้นกระดูกแตกได้ วิธีรักษาห้อเลือดใต้เล็บ โดยแพทย์มีกี่วิธี […]
Uncategorized
เครื่องช่วยดามนิ้ว ช่วยการดามนิ้ว รักษาการบวดเจ็บที่นิ้ว
เครื่องช่วยดามนิ้ว กระดูกนิ้วหักที่ไม่เลื่อนหรือเลื่อนเล็กน้อย รวมถึงการอักเสบเส้นเอ็นของนิ้วเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในเวชปฏิบัติ การรักษาเป็นวิธีการรักษาเป็นอนุรักษ์นิยม (Conservative treatment) โดยทั่วไปนอกจากยาแก้ปวดแล้ว การใส่ finger splints ถือมีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากช่วยลดปวด และทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้งานได้ตามปกติเร็วขึ้น นักศึกษาต้องรู้จักความหมายกว้างๆ ก่อน Orthosis หมายถึงอุปกรณ์พยุงที่ใช้ดามร่างกายภายนอก โดยทั่วไปมักคำว่า Brace เช่น knee brace คือ อุปกรณ์พยุงเข่า สำหรับ splint หมายถึงอุปกรณ์พยุงชนิดชั่วคราว (Temporary orthosis) สำหรับการเรียกชื่ออุปกรณ์พยุงแขนและมือสามารถเรียกชื่อได้หลายแบบ ได้แก่ 1. ภาวะที่ต้องใช้อุปกรณ์พยุงชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น tennis elbow splint, carpal tunnel syndrome splint, de Quervain’s disease splint หรือ finger splint เพื่อให้เข้าใจง่าย สามารถใช้สื่อสารกับผู้อื่นและเข้าใจได้ทันที โดยในบทเรียนนี้จะกล่าวนี้ finger splint เท่านั้นที่ใช้บ่อยในโรงพยาบาล สามารถทำได้ง่ายและใช้อุปกรณ์ไม่มาก […]
เล็บคืออะไร
เล็บคือเคราตินที่งอกออกมาจากผิวหนัง เพื่อช่วยให้ปลายนิ้วของเรานั้นแข็งแรง สามารถใช้งานหยิบจับอะไร ๆ ได้สะดวกและแม่นยำ สามารถทำงานที่ละเอียดได้ง่าย กระบวนการสร้างเล็บก็ไม่ได้ซับซ้อนอะไรมาก คือ เซลล์รากเล็บจะปล่อยโปรตีนเคราตินออกมา ชั้นเคราตินก็จะก่อตัวตรงฐานเล็บและดันให้เล็บยาวขึ้นเรื่อย ๆ แต่เคยสงสัยมั้ยว่าเล็บของเราในแต่ละนิ้วนั้นงอกเร็วเท่ากันหรือเปล่า แล้วอัตราการงอกของเล็บขึ้นอยู่กับอะไรกันล่ะ ? จากผลการสังเกตและวิจัย เขาบอกเอาไว้อย่างงี้… – เล็บแต่ละเล็บมีอัตราการงอกไม่เท่ากันนะ โดยปกติเล็บของนิ้วที่มีกระดูกข้อปลายยาวกว่าจะงอกเร็วกว่าเล็บที่มีกระดูกข้อปลายสั้นกว่า เช่น เล็บของนิ้วชี้ จะงอกเร็วกว่าเล็บของนิ้วหัวแม่มือ เพราะนิ้วหัวแม่มือมีข้อนิ้วสั้น ๆ แค่ 2 ข้อ – เล็บของนิ้วเท้าจะงอกออกมาช้ากว่าเล็บของนิ้วมือประมาณ 3-4 เท่า เล็บของนิ้วมือจะงอกด้วยอัตรา 0.1 มิลลิเมตร/วัน ถ้าเราถอดเล็บออกหมด เล็บจะงอกออกมาใหม่จนเต็มภายในเวลา 3-6 เดือน แต่ถ้าเป็นเล็บเท้าซึ่งงอกช้ากว่า จะใช้เวลาประมาณปีครึ่งกว่าจะงอกจนเต็ม – เล็บของมือที่ใช้งานบ่อยจะงอกเร็วกว่าเล็บของมือที่ใช้งานน้อยกว่า เช่น คนที่ถนัดมือขวา เล็บของมือขวาก็จะงอกยาวออกมาเร็วกว่ามือซ้าย โดยเฉพาะนักกีฬาที่ต้องใช้มือข้างใดข้างหนึ่งหนักกว่าอีกข้างหนึ่งมาก ๆ อย่างการเล่นแบตมินตัน เล็บของมือที่ใช้งานจะงอกเร็วกว่าอย่างเห็นได้ชัด – เล็บของคนเราจะงอกยาวเร็วขึ้นในฤดูร้อน – เล็บของวัยรุ่นหรือคนที่อายุน้อยจะงอกเร็วกว่าเล็บของคนที่อายุเกิน 30 ขึ้นไปแล้ว […]
แอซิติลโคลีน (acelylcholine)
แอซิติลโคลีน (acelylcholine) เป็นสารสื่อประสาทตัวแรกที่ถูดค้นพบ ซึ่งถูกหลั่งจากปลายประสาทโดยมี โคลีน (choline) จากตับ เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์ ปลายประสาทที่สร้างแอซิติลโคลีน (acetylcholine) จะดูดซึมโคลีน เข้าสู่ไซโตพลาสซึม (cytoplasm) โดยระบบตัวพาที่ใช้พลังงาน เพื่อรวมกับกลุ่มแอซิติลโคเอนไซม์เอ (acetyl CoA) โดยใช้เอนไซม์โคลีนแอซิติลทรานสเฟอเรส (choline acetyltransferase) ได้แอซิติลโคลีน (ดังภาพที่ 1) สะสมไว้ในกระเปาะเวสซิเคิล (vesicle) ที่ปลายแอกซอน เมื่อกระแสประสาทวิ่งมาถึงปลายประสาทจะเปิดช่องให้แคลเซึีียมไอออน (Ca++) เข้าไปในปลายประสาท เพื่อช่วยดึงกระเปาะเวสซิเคิล ให้สัมผัสเยื่อหุ้มเซลล์แล้วหลั่งแอซิติลโคลีน หลายพันโมเลกุลผ่านช่องว่าง ซิแนปส์ ไปกระทำต่อรีเซปเตอร์ (receptor) ที่เยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์ถัดไป (เซลล์หลังซิแนปส์) คุณสมบัติของ แอซิติลโคลีน (acelylcholine) มีคุณสมบัติเป็นทั้งแบบกระตุ้นและแบบยับยั้้งขึ้นอยู่กับชนิดของรีเซปเตอร์ (receptors) ที่กระทำต่อแอซิลติลโคลีนนั้น ซึ่งเมื่อทำงานเสร็จ จะถูกทำลายอย่างรวดเร็วโดยแอซิติลโคลีนเอสเตอเรส ที่อยู่ตามผิวเยื่อหุ้มเซลล์ให้กลายเป็นโคลีน และกรดอเซติก นอกจากนี้โคลีนส่วนหนึ่งจะถูดดูดกลับเข้าปลายประสาทเพื่อใช้สังเคราะห์แอซิติลโคลีนใหม่ หน้าที่ของ แอซิติลโคลีน บทบาทของแอซิติลโคลีนจะกระตุ้นหรือยับยั้งระบบประสาทส่วนกลาง (ขึ้นกับชนิดของรีเซปเตอร์) และทำหน้าที่เกี่ยวกับ การรับความรู้สึกเจ็บปวด ร้อน […]